ข่าวสาร

PROMOTION

 


กปน. เผย แม้น้ำประปาอาจมีรสชาติเปลี่ยนไปช่วงวันพระ แต่คุณภาพยังคงเดิม

   นายเชาวรินทร์ กิ่งแก้ว รองผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) ในฐานะ ประธานศูนย์อำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์น้ำและคุณภาพน้ำ แจ้งว่า แม้ว่าสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังในช่วงวันพระ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น้ำทะเลจะหนุนสูงกว่าปกติ ส่งผลให้น้ำประปาในช่วงวันพระมีรสชาติเปลี่ยนไปจากเดิมบ้างในบางช่วงเวลาโดยเฉพาะช่วงน้ำขึ้น แต่คุณภาพน้ำประปา ในด้านอื่น ๆ ยังได้มาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) ทุกประการ 
   นายเชาวรินทร์ กล่าวอีกว่า ผู้บริหารและพนักงาน กปน. ทุกคนจะช่วยกันแก้ไขปัญหา และลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด พร้อมขอความร่วมมือประชาชนร่วมกันใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า "เปิดเมื่อใช้ ปิดเมื่อไม่จำเป็น” ทั้งนี้ ผู้ใช้น้ำสามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาใกล้บ้านท่าน ผ่าน http://twqonline.mwa.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อติดตามค่าความนำไฟฟ้าในน้ำประปา หากพื้นที่ใดมีค่าความนำไฟฟ้าเกินกว่า 1,200 หน่วย จะส่งผลให้รับรู้รสชาติที่เปลี่ยนไปจากเดิมของน้ำประปาได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการประชาชน โทร. 1125 ตลอด 24 ชั่วโมง




รอบรู้การเดินท่อประปา หมดปัญหาเรื่องแรงดันน้ำ

สนับสนุนเนื้อหา จาก COTTO

วีคนี้ มีคำถามจากทางบ้านเข้ามา ว่า “หากต้องการเดินท่อประปาชั้นล่างจากถังเก็บน้ำโดยตรง แบบไม่ต้องผ่านปั๊มน้ำ ส่วนชั้น 2 ต้องการใช้น้ำจากปั๊มน้ำ จะสามารถทำได้หรือไม่? และจะมีผลเสียอย่างไร? ไปหาคำตอบพร้อมกันเลย




โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้าน จะมีอยู่ 2 ชนิด คือการเดินท่อแบบลอย  และการเดินท่อแบบฝัง สำหรับการเดินท่อแบบลอยนั้นช่างส่วนใหญ่นิยมเดินท่อแบบติดกับผนัง หรือวางบนพื้น ซึ่งการเดินท่อแบบนี้จะสามารถซ่อมแซมได้ง่ายเมื่อเกิดปัญหา เหมาะสำหรับเจ้าของบ้านที่ชื่นชอบการตกแต่งแบบ Industrial Style ที่เน้นพื้นที่เปิดโล่ง และมองเห็นโครงสร้างของวัสดุที่ใช้อย่างชัดเจน





ส่วนการเดินท่อแบบฝัง ช่างจะเจาะสกัดผนัง แล้วเดินท่อประปา เมื่อวางระบบเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือ อาจจะเดินซ่อนไว้ใต้เพดาน เพื่อความเรียบร้อยสวยงาม แต่เวลามีปัญหาอาจจะซ่อมแซมยากกว่าการเดินท่อแบบลอยครับ




สำหรับคำถามที่ต้องการปรับเปลี่ยนการเชื่อมต่อท่อบายพาสจากเดิม ที่ต่อท่อประปาออกมาจากถังเก็บน้ำ มาเป็นการเชื่อมต่อจากมิเตอร์ประปา ก่อนผ่านวาล์วตัวแรก (ตามภาพแผนผังจากทางบ้าน) ซึ่งลักษณะการเดินท่อแบบเดิมทำให้เกิดปัญหาเรื่องแรงดันน้ำไม่เพียงพอต้องความต้องการใช้งาน



หากถังสำรองน้ำของคุณอยู่สูงระดับพื้นดิน การเดินท่อบายพาสต้องเริ่มใส่สามทาง โดยเริ่มเดินท่อตั้งแต่ก่อนวาวล์ 1 เพื่อให้ใช้น้ำประปาตรงได้ เพราะผังการเดินท่อจากถังเก็บน้ำ (ตามภาพจากทางบ้าน) ที่ระดับเดียวกับส่วนของชั้น 1 นั้น ไม่สามารถทำให้แรงดันน้ำเพิ่มขึ้นมาได้ครับ ส่วนวาวล์หมายเลข 3 จริงๆ แล้ว ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก แต่มีไว้สำรองก็จะช่วยให้ให้สามารถถอดแยกปั๊มน้ำออกไปซ่อมได้ ในกรณีที่ปั้มน้ำเสีย

สำหรับเช็ควาวล์แนะนำให้ติดตั้งเช็ควาวล์แบบสวิงครับ  เพราะหากคุณเลือกใช้เช็ควาวล์แบบสปริงแล้ว จะทำให้สูญเสียแรงดันน้ำกับวาวล์แบบสปริงมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้น้ำประปาไหลเบาลงอย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้น ควรใช้น้ำที่มาจากมิเตอร์ประปาเลยจะดีกว่า เพราะในระบบประปาจะมีแรงดันน้ำประมาณ 1 บาร์ ซึ่งมากกว่าแรงดันที่ได้รับจากน้ำในถังเก็บน้ำ โดยสามารถเดินท่อประปาได้ตามแผนผังภาพด้านล่างนี้



TIPS:

ตรวจสอบอุปกรณ์ประปาภายในบ้านได้ด้วยตัวเอง โดยการปิดก๊อกที่มีอยู่ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อนแสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการรั่วซึม หรือ อาจจะมีอุปกรณ์บางอย่างแตกหักชำรุด
ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่ภายนอกบ้านได้ โดยการสังเกตบริเวณพื้นดินที่เดินท่อประปา หากพื้นดินบริเวณนั้น มีการทรุดตัวลงต่ำกว่าบริเวณอื่น หรือ มีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา อาจจะเกิดจากปัญหาการรั่วซึม หรือ ชำรุดของอุปกรณ์บางอย่างได้เช่นกันครับ



ก่อนจบ entry นี้ หวังว่า แผนผังการเดินท่อประปา และวิธีการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาฝากกัน จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางแก้ปัญหาสำหรับเจ้าของบ้าน ที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่
ที่มา http://www.sanook.com/home/2157/




มาตรฐานใหม่ของการใช้ท่อ HDPE สำหรับงานสายเคเบิ้ลใต้ดิน

     The American Association of State Highway and Transportation Officials (AASHTO) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรได้เผยแพร่มาตรฐานใหม่เกี่ยวกับการใช้ท่อร้อยสายเคเบิ้ลสำหรับระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสารที่ทำจากพลาสติก HDPE (high density polyethylene) โดยท่อร้อยสายเคเบิ้ล HDPE นี้จะถูกฝังอยู่ใต้ดินข้างทางถนนไฮเวย์ของสหรัฐอเมริกา   

    มาตรฐานที่เผยแพร่ออกมาเรียกว่า "Standard Practice for Solid Wall High-Density Polyethylene Conduit for Non-Pressure Applications Used for the Protection of Power and Telecommunications Cables" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "Standard Practice R 63" รายละเอียดมาตรฐานและลักษณะของท่อร้อยสายไฟที่ถูกกำหนดขึ้นนี้เกิดจากการที่วิศวกรจาก AASHTO ได้ร่วมทำงานกับสถาบัน Plastics Pipe Institute, Inc. (PPI) ในเอกสารมาตรฐานฉบับดังกล่าวมีการกล่าวถึงรายละเอียดของวัสดุ ความเชี่ยวชาญและประสิทธิภาพของการใช้งานท่อร้อยสายไฟ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้แก่งานด้านกำลังไฟ เช่นระบบส่องสว่างไฮเวย์และท่าอากาศยาน ระบบลำเลียงไฟ และงานด้านการสื่อสาร เช่น Intelligent Highway Systems, ทีวีวงจรปิดและสายเคเบิ้ลเส้นใยออฟติก งานด้านอื่นๆ เช่นการควบคุมการวางท่อ เทคโนโลยีการควบคุมการเดินรถไฟและสัญญาณจราจร และในมาตรฐานใหม่ยังมีการกล่าวถึงระบบการติดตั้ง เช่นการขุดร่องและการขุดเจาะในแนวนอนด้วย

    HDPE เป็นพลาสติกที่นิยมใช้ในงานร้อยท่อสายไฟเนื่องจากมีสมบัติทนต่อสารเคมีและการแตกร้าว มีความยืดหยุ่นดี แข็งแรงและขดงอได้ และยังสามารถฝังลงใต้ดินโดยแทบไม่มีผลกระทบต่อการจราจรและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ สายร้อยสายไฟ HDPE มีให้เลือกแบบเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 6 นิ้วสำหรับร้อยสายไฟหลายเส้นได้      

    สถาบัน PPI เป็นองค์กรการค้าที่สำคัญในอุตสาหกรรมท่อพลาสติก มีสมาชิกที่ร่วมกำหนดมาตรฐานได้แก่ Tony Radoszewski ผู้จัดการฝ่ายบริหารสถาบัน PPI, Jennifer Marin จากบริษัท Endot Industries, Inc., Sarah Patterson ผู้จัดการฝ่ายเทคนิคของสถาบัน PPI, Tom Stewart จากบริษัท Dura-Line Corporation และ George Zagorsk จาก Blue Diamond Industries นอกจากนั้นยังมี Jim Goddard และ Bill Bailey จาก Virginia Department of Transportation เป็นที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมด้วย

อ้างอิงจาก Plastics News.

Visitors: 391,730