มารีนไชน์กูรู


  • เชื่อว่าหลายคนอาจจะต้องเคยสงสัยว่าท่อที่มีสีดำ และท่อที่มีสีฟ้าในการจัดระบบประปา ทั้งแบบฝั่งไว้ใต้ดิน ,แบบใช้งานอุตสาหกรรม,ท่อน้ำที่การประปาใช้ ท่อน้ำที่ผู้รับเหมาใช้นั้นมันคือท่ออะไร แตกต่างกันอย่างไร มีคุณภาพต่างกันยังไง ทำไมถึงมีสีต่างกัน วันนี้มารีนไชน์จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับท่อ PVC และ ท่อ PE ทั้งสองประเภทว่าเป็นอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและตัดสินใจเลือกซื้อไปใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น
    ท่อ PE คืออะไร ท่อ PE ย่อมาจากคำว่า Polyethylene ท่อ PE คือท่อผลิตขึ้นมาจากเรซินพอลิเอทีลีนชนิดที่มีความหนาแน่นสูง เนื้อของ ท่อ PE จะมีคุณสมบัติที่แข็งแรง เหนียวเป็นพิเศษ โดยตัวเนื้อพลาสติกของท่อจะมีความมันและความลื่น สามารถทำให้ของเหลวหรือน้ำไหลผ่านได้สะดวกโดนที่มีแรงดันน้อย ปราศจากสารพิษเจือปน เหมาะสำหรับการใช้ทำระบบน้ำดื่มที่สามารถนำมาบริโภคโดยไร้สารพิษและเคมีตกค้าง ข้อต่อ ท่อ PE สามารถทนต่อด่าง กรด สารเคมีและเกลือได้เป็นอย่างดี เป็นที่นิยมอย่างในการทำประปา ท่อส่งน้ำ แต่ทั้งนี้ ท่อ PE ก็มีข้อจำกัดตรงที่ว่ามีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ถือว่าเป็นเลือกที่ดีอย่างหนึ่งในการใช้วัสดุที่แข็งแรงเหมาะสำหรับการทำงานอย่างยิ่ง
    ท่อ PVC คืออะไร คือท่อที่ได้ผลิตขึ้นมาจากโพลิไวนิลคอลไรต์ โดยที่ไม่ได้ผสมกับพลาสติกไซเซอร์ โดยชื่อที่เรียกกันให้ถูกต้องตามหลัก มอก. ก็คือ ท่อพีวีซีแข็ง แต่ส่วนใหญ่แล้วทั้งคนทั่วไปและช่างประปา มักจะเรียกว่า ท่อ PVC โดยท่อ PVC นั้นมีคุณสมบัติพื้นผิวที่แข็งแรงทนทาน ลักษณะเรียบลื่น สามารถที่จะจัดส่งได้ดี ไม่มีสารเคมีหรือสารพิษเจือปน สามารถทนต่อกรดด่าง แต่ทั้งนี้ท่อ PVC ก็มีข้อเสียตรงนี้ ไมทนต่อความร้อนทั้งจากภายนอกและภายในของท่อเอง อีกทั้งข้อต่อของ PVC ยังเปราะบาง แตกหักง่าย ไม่มีความทนทาน แต่ท่อ PVC มีราคาที่ถูกช่างประปาในเมืองไทยจึงนิยมกันอย่างเป็นมาก แตกต่างที่ท่อ PE มักจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือคนที่เน้นเรื่องของคุณภาพในการก่อสร้าง ที่จะมีราคาสูงกว่าท่อ PVC นั่นเอง

  • ท่อ PPR (พีพีอาร์) ผลิตด้วยเม็ด PPR (80) ชั้นดีของยุโรปจาก Basell เนื้อพลาสติกจึงมีคุณภาพ และความหนาแน่นสูง ไม่รั่วซึม อีกทั้งแสงลอดผ่านไม่ได้จึงไม่เป็นตะไคร่นํ้า ท่อ PPR (พีพีอาร์) ได้รับการรับรองจากสถาบัน DVGW เป็นสถาบันมาตรฐานสากลที่รับรองผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับแก๊สและนํ้า ผู้ผลิตต้องผ่านการทดสอบและตรวจสอบคุณภาพสินค้าโดยละเอียด ตามมาตรฐานของ DIN และ EN เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่นำไปจำหน่ายในประเทศเยอรมัน เป็นสินค้าที่ดีที่สุด

    ทำไมต้องเลือกใช้ท่อ PPR (พีพีอาร์)

    ท่อ PPR (พีพีอาร์) ผลิตจากเม็ดพลาสติก PP-R มีความหนาแน่นสูง ท่อมีความแข็งแรงไม่เป็นสนิม แสงไม่สามารถลอดผ่านได้ จึงทำให้ไม่เป็นตะไคร่น้ำ ของเหลวในท่อ ไหลผ่านได้ดี เมื่อเทียบกับท่อ ชนิดอื่น คุณสมบัติของ ท่อ PPR (พีพีอาร์) มีความเหนียว แข็งแรง มีน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับท่อเหล็กหรือท่อชนิดอื่นๆ ทนต่อการกลัดกร่อนของสารเคมี กรด-ด่าง ทนต่อแสง UV แสงแดด ปลอดภัยสามารถนำไปเป็นท่อน้ำดื่มได้ และสามารถทนอุณหภูมิ 3-95 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับใช้เป็นท่อน้ำร้อน ท่อ PPR (พีพีอาร์) มีอายุการใช้งานมากกว่า 50 ปี ติดตั้งได้ง่าย สะดวก รวดเร็วหมดกังวลเรื่องรั่วซึม



    และด้วยเนื่อง ท่อ PPR มีคุณลักษณะพิเศษที่มีความทนสูง มีความสะอาดที่ได้มาตรฐาน จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งทางยุโรปและขยายเข้าสู่เอเชีย จึงไม่น่าแปลกเลยที่ประเทศไทยก็จะเป็นส่วนหนึ่งที้ยอมรับ ท่อ PPR และมีการใช้กันอย่างเป็นวงกว้าง แค่เพียง 8 ปี ก็ทำให้รู้จักกันอย่างมากมาย ถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ ในยุคใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้รับเหมานั้น ถือว่า ท่อ PPR เป็นตัวเลือกที่ดีมากๆๆ จากบทความนี้หวังว่าจะทำให้ท่านผู้อ่านหรือผู้รับเหมา ผู้ประกอบการจะได้ ความรู้เรื่อง ท่อ PPR ไม่มากก็น้อย โดยท่านสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 086 999 1619 หรือ 021736414-6



    เราเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของ Thai PPR จึงทำให้สามารถรองรับกับการทำงานได้หลายประเภท เพราะว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เช่น
    •ระบบท่อน้ำเพื่อการบริโภค ไม่ว่าจะเป็นน้ำร้อนหรือน้ำเย็นก็สามารถรองรับ ซึ่งท่อ PPR ของเรานั้น ทำได้ทั้งภายในอาคาร บ้านพัก โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน สำนักงาน พูดตรงๆเกือบทุกที่ ที่ ท่อ ppr รองรับ
    •ระบบท่อน้ำสำหรับงานด้านอุตสาหกรรม
    •ระบบท่อในงานด้านเรือ
    •ระบบท่อสำหรับน้ำกลั่น
    •ระบบท่อความร้อนงานพื้น
    •ระบบท่อน้ำฝน
    •ระบบท่อลมแรงดันสูง
    •ระบบท่อน้ำสระว่ายน้ำ
    •ระบบท่อน้ำเพื่อการเกษตร เกษตรกร ชอบใช้
    •ระบบท่อน้ำเย็นสำหรับเครื่องปรับอากาศ

  • คงมีหลายคนสงสัยเรื่องท่อประปา เพราะว่าเราคงเห็นแล้วว่า ท่อนั้นมีลักษณะหลายแบบ เรามาดูกันว่า ชนิดของท่อประปา นั้นมีอะไรบ้าง
    1. ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี
    ข้อดี คือ มีความแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักได้ดีที่เดียว อึด ทน ต่อแรงกระแทกได้อย่างดีเยี่ยม และที่สำคัญทนต่อความดัน อีกทั้งอุณหภูมิที่อยู่สูงๆ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องทำน้ำร้อนเป็นต้น
    ส่วน ข้อเสีย ก็มีอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือราคาค่อนข้างที่จะแพงสักหน่อย ถ้าเราใช้ไปนานๆแล้ว ก็จะเกิดสนิมขึ้นได้ ส่วนข้อที่เราต้องเตือนกันก็คือ ถ้าท่อที่ฝังในดิน แล้วเรานำน้ำในท่อไปรับประทาน อาจจะเกิดอันตรายได้
    2. ท่อประปาพีวีซี (PVC.)
    ข้อดี ของท่อชนิดนี้ คือ น้ำหนักจะมีลักษณะเบา ราคาถูกกว่าท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี เราสามารถดัดให้งอได้ และ ไม่เกิดสนิม ทำให้น้ำในท่อจะสะอาดกว่ามาก
    ข้อเสีย ไม่สามารถที่จะทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่อึด ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงมากๆ
    ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่าท่อที่นิยมคือท่อชนิดไหน นั้นก็คือท่อ พีวีซี (pvc) นั่นเอง

    เรามาเรียนรู้ชนิดของท่อพีวีซี (PVC.)กันดีกว่า โดยที่ท่อพีวีซี (PVC.) จะแบ่งตามชนิดการใช้งาน โดยใช้สี ดังนี้
    1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้เป็นอย่างดี
    2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่เราสามารถใช้กับระบบน้ำ ยกตัวอย่างเช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภท การใช้งาน (มีอยู่ด้วยกันหลายเกรด)
    3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่เราใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ราคาค่อนข้างจะถูก แต่ไม่ค่อยแข็งแรง ดังนั้นเราควรจะเดินลอยไว้ ไม่ควรจะฝังดิน

  • วิธีการเลือกซื้อสายไฟฟ้า
    สังเกตอะไรบ้าง เพื่อให้ได้สายไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้งานตามที่เราต้องการ
    หลายๆคนคงเจอปัญหาซื้อสายไฟฟ้ามาแล้ว แต่ดันใช้งานไม่ได้บ้าง ไม่ตรงกับที่เราต้องการบ้าง แล้วการเลือกซื้อนั้นเขาดูกันยังไง?

    วันนี้มารีนไชน์จะมาแนะนำวิธีการเลือกซื้อสายไฟฟ้าให้ตรงกับการใช้งานในเบื้องต้น ก่อนที่เราจะไปเลือกซื้อสายไฟฟ้านั้นสิ่งที่เราต้องรู้อันดับแรกเลยก็คือ

    1. สายไฟฟ้าชนิดไหนที่เราต้องการ และเราจะนำไปใช้งานในลักษณะไหน
    2. สายไฟม้วนที่เราต้องการนั้น มีฉลากบอกรายละเอียดสายไฟครบถ้วนหรือไม่ เช่น ชื่อชนิดสาย ขนาด น้ำหนัก สี และวันที่ผลิต
    3. ปลายสายไฟฟ้าฉนวนทองแดงนั้นต้องอยู่กึ่งกลางพีวีซีพอดี เพื่อความปลอดภัยในการนำไปใช้งาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดไฟฟ้ารั่วหรือช็อตได้ง่ายเมื่อนำไปใช้งาน
    4. สายไฟต้องดัดงอได้ง่าย โดยสังเกตได้จากการม้วนหรือขดของสายไฟ จะไม่แตกหรือหักง่ายเมื่อเรานำไปใช้งานติดตั้ง
    5. แพ็คเกจของสายไฟ ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สายต้องมีการม้วนอย่างดี ไม่พันกันรุงรังหรือเป็นปมไม่เรียบปกติ เพื่อการหยิบหรือเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัยและป้องกันการชำรุดของสายไฟ
    6. สายไฟที่ดีต้องมีตราสัญลักษณ์ มอก.ใหม่ ว่าสายไฟฟ้านั้นเป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด
    7. มอก.ของสายไฟฟ้านั้น ต้องได้มาตราฐานความปลอดภัยมาอย่างถูกต้อง เช่นสายไฟของมารีนไชน์ ที่ได้รับความน่าเชื่อถือสายไฟฟ้าระดับพรีเมี่ยม มั่นใจได้ทั้งในคุณภาพ และความปลอดภัย
    ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน มอก.อย่างถูกต้อง

    อย่าลืมน๊ะ สายไฟฟ้ามีสองประเภท
    สายไฟแรงดันต่ำ,,,,สายไฟแรงดันสูง

  • 12 วิธีแก้ปัญหาท่อน้ำตันง่าย ๆ แม้ไม่ใช่ช่างก็ทำเองได้ !

    ท่อน้ำตันทำอย่างไร ? มาดูวิธีแก้ปัญหาท่อน้ำตันง่าย ๆ ไม่ต้องเรียกช่าง วิธีแก้ปัญหาน้ำตันด้วยน้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดา โซดาไฟ และของใกล้ตัวที่ช่วยแก้ปัญหาท่อน้ำตันได้อย่างดีเยี่ยม

    หากกำลังประสบปัญหาท่อน้ำตัน อย่าเพิ่งกริ๊งกร๊างไปหาช่างซ่อม เพราะวันนี้มีวิธีแก้ปัญหาท่อน้ำตันง่าย ๆ มาบอกต่อ โดยวิธีแก้ไขท่อน้ำตันด้วยตัวเองและของใช้ในบ้าน เช่น น้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดา โซดาไฟ และของอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ใกล้มือ อยากรู้ว่าท่อน้ำตันทำอย่างไร ? ก็ตามไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยจาก 12 วิธีแก้ไขปัญหาท่อน้ำตัน

    1. ที่ปั๊มส้วมช่วยได้ในเบื้องต้น

    วิธีการแก้ไขเบื้องต้นปัญหาท่อน้ำอุดตันนั่นก็คือ การใช้ที่ปั๊มส้วม แต่จะให้ดีต้องปั๊มด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยการครอบที่ปั๊มลงไปที่ปากท่อ นำผ้าเปียกมาคลุมไว้รอบ ๆ ที่ปั๊มแล้วทำการปั๊มขึ้น-ลงประมาณ 6-10 ครั้ง เพื่อดึงเอาสิ่งที่อุดตันอยู่ในท่อขึ้นมา



    2. น้ำส้มสายชูและเบกกิ้งโซดา

    หากเกิดปัญหาท่อน้ำอุดตันแนะนำให้เทเบกกิ้งโซดาประมาณ ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อ แล้วเทน้ำส้มสายชู ½ ถ้วยตวงตามลงไปและทิ้งไว้สักพัก จากนั้นให้ราดน้ำร้อนลงไปในท่อซ้ำอีกครั้ง

    3. เบกกิ้งโซดาและเกลือ

    วิธีนี้คล้ายกับวิธีที่ 2 แต่เปลี่ยนจากน้ำส้มสายชูเป็นเกลือ โดยเทเบกกิ้งโซดาประมาณ 1 ถ้วยตวงและเกลือ ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อ แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นเทน้ำร้อนลงไปในท่ออีก 2 ถ้วยตวง

    4. ไม้แขวนเสื้อใช้ทะลวงท่อ

    หากเราสามารถมองเห็นเศษขยะที่อุดตันอยู่ในท่อได้ ให้นำไม้แขวนเสื้อมาคลายออกให้เป็นลวดยาว ๆ งอปลายขึ้นเล็กน้อยเพื่อทำเป็นหัวตะขอเกี่ยว จากนั้นนำลวดด้านที่มีหัวเกี่ยวหย่อนลงไปในท่อเพื่อเกี่ยวเศษขยะที่อุดตันท่อขึ้นมา

    5. เครื่องดูดฝุ่น ดูดหมดทุกสิ่งอุดตัน

    ถ้าที่บ้านมีเครื่องดูดฝุ่นที่สามารถใช้ทำงานได้ทั้งพื้นที่เปียกและพื้นที่แห้ง แนะนำให้เปิดระบบการทำงานเครื่องดูดฝุ่นให้เป็นแบบเปียก จากนั้นเปิดน้ำหล่อท่อเอาไว้แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นจ่อลงไปที่ปากท่อ แล้วดูดสิ่งอุดตันท่อออกมาให้หมด

    6. โซดาไฟ กัดคราบสกปรกให้หลุดออกจากท่อน้ำ

    วิธีนี้ควรใช้แก้ปัญหาส้วมอุดตันเท่านั้นและควรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันด้วย ได้แก่ ถุงมือยาง แว่นป้องกันสายตา และหน้ากากอนามัย แล้วก็ลงมือผสมโดยการเทน้ำเย็นลงในถังประมาณ ¾ แกลลอน ตามด้วยโซดาไฟอีก 3 ถ้วยตวง ใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน เมื่อเกิดฟองฟู่และไอร้อนก็รีบเทลงในชักโครก ทิ้งไว้ 20-30 นาที แล้วค่อยเทน้ำต้มเดือดราดลงไป

    7. น้ำยาล้างจาน ล้างคราบไขมันให้หายเกลี้ยง

    แม้การใช้น้ำยาล้างจานอาจจะดูเป็นวิธีที่ค่อนข้างเบาแต่กลับได้ผลเกินคาด โดยเทน้ำยาล้างจานลงไปในท่อประมาณ ¼ ถ้วยตวง แล้วตามด้วยน้ำต้มเดือด น้ำยาล้างจานจะลงไปกัดคราบไขมันให้หลุดออกจากท่อ แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำให้สวมถุงมือยาง แล้วล้วงมือลงไปดึงเศษขยะที่ติดอยู่ออกมา ก็จะช่วยแก้ปัญหาท่ออุดตันได้ดีกว่า

    8. ถอดท่อน้ำออกมาทำความสะอาด

    หากท่อน้ำทิ้งที่อ่างล้างหน้าหรืออ่างล้างจานเกิดอุดตันแบบขั้นหนัก แนะนำให้ถอดท่อน้ำออกมาทำความสะอาดเลยจะดีกว่า ก่อนอื่นปิดวาล์วน้ำให้น้ำหยุดไหล แล้วนำถาดมารองไว้ใต้ท่อน้ำด้านล่าง จากนั้นค่อย ๆ ถอดท่อน้ำข้อต่อระหว่างอ่างกับผนังออกมาทีละส่วน แล้วใช้แปรงสีฟันขัดถูทำความสะอาดสิ่งอุดตันออกให้หมด จากนั้นนำที่ปิดน้ำตรงปากท่อน้ำทิ้งออกมาทำความสะอาด แล้วจัดการต่อท่อกลับไปให้เหมือนเดิม

    9. น้ำส้มสายชูและเกลือ

    อีกหนึ่งสูตรช่วยกำจัดสิ่งอุดตันท่อแบบไร้สารพิษทำลายล้างท่อน้ำ โดยเทเกลือขนาด ½ ถ้วยตวง เบกกิ้งโซดาอีก ½ ถ้วยตวง และน้ำส้มสายชูอีก ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อน้ำ แล้วทิ้งไว้ 10 นาที จากนั้นเทน้ำต้มเดือดตามลงไปเพื่อล้างคราบไขมันที่ติดอยู่ในท่อและกำจัดสิ่งสกปรกให้หมดไป

    10. ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ แบบไม่ทำลายท่อน้ำ

    ผลิตภัณฑ์น้ำเอนไซม์มีวางขายตามห้างร้านทั่วไป หากจะนำมาใช้เพื่อทำความสะอาดท่ออุดตันแนะนำให้เลือกเอนไซม์ชนิดที่เป็นออแกนิกส์ เพราะไม่ทำลายพื้นผิวของท่อน้ำ อ่านและทำตามฉลากด้านข้างขวดอย่างเคร่งครัด จากนั้นก็ปล่อยให้เอนไซม์ทำงานโดยการทิ้งไว้ 1 คืน แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งในตอนเช้า

    11. สายทะลวงท่อน้ำอุดตัน

    ไม่อยากเสียเวลากับการแก้ปัญหาท่อน้ำอุดตันเราแนะนำให้ลองใช้สปริงทะลวงท่อหรือที่เรียกกันว่างูเหล็ก สอดเข้าไปในท่อที่อุดตัน เมื่อเจอกับสิ่งที่อุดตันท่อแล้ว ก็ใช้งูเหล็กทะลวงเข้าไปพร้อมกับเปิดน้ำทิ้งหรือกดชักโครกไล่สิ่งอุดตันตามไปด้วย

    12. น้ำยาฟอกผ้าขาว ใช้กับท่อน้ำก็ได้

    ใครว่าน้ำยาฟอกผ้าขาวใช้ได้กับผ้าเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วมันก็ช่วยทะลวงท่อน้ำอุดตันได้เช่นกัน เริ่มจากถอดตัวกรองน้ำที่ปากท่อออกก่อน แล้วเทน้ำยาฟอกผ้าขาวประมาณ 1 ถ้วยตวงลงไป ปล่อยทิ้งไว้ 10 นาที เปิดน้ำให้ไหลงไปในท่อ หากว่าน้ำในท่อค่อย ๆ ลดระดับลง ก็เป็นอันว่าสิ่งที่อุดตันท่อหลุดออกไปเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็ทำความสะอาดท่อตามปกติได้เลย

    ปัญหาท่อน้ำอุดตันเกิดขึ้นได้กับทุกบ้านและถ้าหากเราปล่อยเอาไว้มันจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบท่อน้ำในบ้าน ดังนั้นเมื่อเจอปัญหาท่อน้ำอุดตันที่ไหนก็อย่าลืมนำเอาวิธีที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ไปใช้นะคะ

  • สายไฟอ่อน ต่างกับ สายไฟแข็ง อย่างไร?
    สายไฟอ่อน ต่างกับ สายไฟแข็ง อย่างไร สายอ่อน ตามท้องตลาดส่วนมากหมายถึงสายชนิด VCT (สายไฟมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 11-2531) เป็นสายไฟแรงดันต่ำ ที่ทนแรงดันได้ไม่เกิน 750 โวลต์ ที่อุณหภูมิไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส ซึ่งมีหลายแบบทั้งแบบสายเดี่ยว, 2 แกน, 3 แกน และ 4 แกน คุณสมบัติคือ แกนในเป็นเกลียวทองแดงฝอยเล็ก มีฉนวนสามชั้น อ่อนตัวโค้งงอได้ดี เหมาะสำหรับงานที่มีการรื้อ-ถอน เคลื่อนย้ายสายไฟบ่อยๆ เช่น งานแบบติดตั้งชั่วคราว งานภาคสนามบนพื้นราบ หรือไม่สูงจากพื้นมากนัก

    สายแข็ง ส่วนมากจะนิยมใช้เรียกสาย 60227 IEC01 หรือที่เรียกกันโดยทั่วไป THW ซึ่งเป็นชื่อตามมาตรฐานอเมริกา (สายไฟมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 11 – 2531) เป็นสายไฟที่ใช้ในงานประเภทแรงดันต่ำเช่นกัน แรงดันได้ไม่เกิน 750 โวลท์ ทนอุณหภูมิได้ 70 องศาเซลเซียส ตัวนำเป็นทองแดงเส้นใหญ่และฉนวนชั้นเดียวเป็นแบบ PVC ซึ่งทำให้สายค่อนข้างแข็ง ไม่เหมาะกับการโค้งงอบ่อย ไม่ทนต่อการลากสายและขูดขีดบ่อย เพราะจะทำให้ฉนวนชำรุดได้ เหมาะสำหรับการเดินสายในสถานที่แห้ง ไม่เปียกชื้นหรือในท่อ เช่น ตามโรงงาน ห้ามเดินฝังดินโดยตรง

Visitors: 429,543