- ท่อกัลวาไนซ์ Galvanized

ท่อกัลวาไนซ์ (Galvanized steel Pipe)

ท่อกัลวาไนซ์คาดเหลือง
       นอกจากพ่นเคลือบสีรองพื้นท่อเหล็กดำที่บริษัทผลิตได้ นำมาผ่านขั้นตอนการชุบเคลือบด้วยสังกะสี โดยท่อเหล็กกัลวาไนซ์ที่ได้ จะมีคุณสมบัติการป้องกันการเกิดสนิม และผุกร่อน มีความทนทาน และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าท่อเหล็กดำที่เคลือบและไม่เคลือบสีรองพื้น ท่อคาดเหลืองเป็นท่อที่เหมาะกับงานที่มีการรับน้ำหนักพอสมควร เช่น เต๊นท์ นั่งร้าน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
      เหล็กรีดร้อนม้วน SS400 (หรือเรียกว่า เหล็กดำม้วน)นำเหล็กดำมาสลิตขึ้นรูปท่อและลงบ่อชุบสังกะสี 99.995% ที่อุณหภูมิ 450 C° (Min) 320 gm/m² ขั้นความหนาของสังกะสีเคลือบจะเพิ่มขึ้นตามหนาของเหล็ก (Based Metal) ทนทานการกัดกร่อนได้มากเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ใกล้ทะเลหรือในโรงงานที่สารเคมีมี มอก. ใช้งานประปางานประมูลราชการ
 • ใช้งานโครงสร้างและงานรับน้ำหนักรับความดันได้ดีขั้นต่ำ 400 N/mm²มอก. 277, มอก. 107, BS 1387, ASTM A53, BS 1139  
 
ท่อเหล็กกลม ชุบสังกะสี คาดเหลือง 
       ท่อคาดเหลือง กัลวาไนซ์ เป็นท่อที่มีความหนาระดับกลาง สามารถนำมาต๊าปเกลียวได้ แนะนำให้เลือกสินค้าที่ทำเกลียวมาจากโรงงาน เพราะสามารถป้องกันสนิมได้ดีกว่าการทำเกลียวหน้างาน  ท่อเหล็กกัลวาไนซ์จึงเป็นที่นิยมใช้ในงานหรือบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการผุกร่อนของเหล็กสูง เช่น เครื่องจักรภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์และสิ่งปลูกสร้างบริเวณริมทะเล อย่างไรก็ตาม ท่อเหล็กกัลวาไนซ์จะมีต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายสูงกว่าท่อดำค่อนข้างมาก
 
ข้อดี ของท่อเหล็กกัลวาไนซ์
ข้อดีของการใช้ท่อประปาเหล็กกัลวาไนซ์สำหรับบ้านและหน่วยงานของคุณ ท่อเหล็กกัลวาไนซ์ มีข้อดีคือ แข็งแรง แม้รถใหญ่ทับก็ไม่เป็นไร เหมาะกับการใช้ในบริเวณที่ต้องการความแข็งแรง แม้เอาเครื่องมือมาวางก็ไม่แตก 

ข้อเสีย ของท่อเหล็กกัลวาไนซ์
จะเป็นสนิมบริเวณที่ต่อ เพราะบริเวณนั้นต้องมีการตาร์บเกลียว จะทำให้ขัดสังกะสีที่เคลือบออก
อายุการใช้งานเฉลี่ย
 
อายุการใช้งานของท่อ อยู่ที่ประมาณ 10-20 ปี มักเกิดสนิมบริเวณที่มีการทำเกลียว
ในสมัยก่อนจะมีการฝังท่อประเภทนี้เข้าในผนัง ข้อดีคือ เมื่อมีการเจาะ จะรู้ได้ทันทีว่าเจาะโดนบริเวณท่อ ซึ่งจะป้องกันการรั่วของน้ำได้เป็นอย่างดี  
 
การใช้ท่อเหล็กอาบสังกะสี 
การใช้งานท่อกัลวาไนซ์ และท่อเหล็กหล่อ สำหรับงานน้ำประปา มักเรียกกันว่า ท่อแป๊ป ส่วนถ้าเป็นท่อโสโครกหรือท่อระบายน้ำ เรียก ท่อน้ำทิ้ง ซึ่งการใช้งานเป็นดังนี้
+ ชนิดบาง ใช้ในการต่อท่อระบายน้ำทิ้งในอาคารทั่วไป
+ ชนิดหนา ใช้ในการต่อท่อระบายน้ำที่ต่อใต้พื้นถนน หรือบริเวณที่รับน้ำหนักกด หรือสั่นสะเทือนมาก 
ขนาด ท่อน้ำโสโครก โดยมากผลิตออกมาขนาดเล็กสุดคือ 2 นิ้ว (ความโตภายใน) แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปได้แก่ขนาด 3นิ้ว 4นิ้ว มีทั้งชนิดบ่ารับเดี่ยว และบ่ารับคู่
ท่อเหล็กกล้า ท่อดำ มอก. 276-2532 ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสี มอก. 277-2532
ความหนา และน้ำหนัก
มอก. 276 ประเภท 1 ความหนา (+N/A / -8%) น้ำหนัก (+10%/ -8%)
มอก. 276 ประเภท 2  ความหนา (+N/A / -8%) น้ำหนัก (+10%/ -8%)

ข้อมูลทางเทคนิคของสินค้า
ขนาดท่อทุกประเภท +50/-0 มม.
ความตรงไม่เกิน 0.2%/เมตร
การสุ่มตัวอย่างเพื่อการตรวจสอบและทดสอบ
ขนาด 1/2" - 2" ทุกๆ 1500 ท่อน: 1 ท่อน
ขนาด 2 1/2" - 5" ทุกๆ 750 ท่อน : 1ท่อน
ขนาด 6"-8" ทุกๆ 500 ท่อน: 1 ท่อน การทดสอบแรงดันน้ำของท่อ
 
ทนแรงดันได้ 5 MPa ไม่น้อยกว่า 5 วินาที
การทดสอบความต้านแรงดึง ไม่น้อยกว่า 320Mpa
 
ความยืด ไม่น้อยกว่า 20%
การทดสอบการดัดโค้ง ขนาดท่อ 1/2"-2" มอก. 276 รัศมี 6 เท่าของ OD ดัดโค้ง 180องศา มอก. 277 ไม่กำหนด
การทดสอบการกดแบน ขนาดท่อ 2 1/2" ขึ้นไป มอก. 276 ทดสอบเพื่อความสมบูรณของตะเข็บเชื่อมและเนื้อเหล็กนอกแนวเชื่อม โดยการกด 2 ครั้ง ครั้งแรก กดลลมาให้เหลือ 75% ของ OD ครั้งที่สอง กดงมาให้เหลือ 60% ของ OD 
 
การทดสอบความสม่ำเสมอของสังกะสีที่อาบ จุ่มสารละลาย 4 ครั้ง แล้วดูว่า จะต้องไม่มีทองแดงติดอยู่ที่ผิวท่อมีจุ่มในสารเคมี
การทดสอบการติดแน่นของสังกะสี โดยการใช้ของมีคม กรีดไปที่ผิวท่อ แล้วดูว่ามีการหลุดล่อนของสังะกสีหรือไม่
น้ำหนักของสังกะสีที่อาบ (เฉลี่ย 2 ด้าน) มอก. 277 ประเภท 1,2,3 ไม่น้อยกว่า 400 กรัม/ตร.ม. มอก. 277 ประเภท 4 ไม่น้อยกว่า 550 กรัม/ตร.ม.
การทำเกลียวท่อ ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสี ประเภท 1-3 ทำเกลียวแบบ 60 ตามมอก. 281 2532
 
การพิมพ์ตรา และการคาดแถบสี 
ประเภท 1 พิมพ์ตราสีน้ำตาล คาดแถบสีน้ำตาล 2 ข้าง
ประเภท 2 พิมพ์ตราสีน้ำเงิน คาดแถบสีน้ำเงิน 2 ข้าง
ประเภท 3 พิมพ์ตราสีแดง คาดแถบสีแดง 2 ข้าง
ประเภท 4 พิมพ์ตราสีเขียว คาดแถบสีเขียว 2 ด้าน
การแสดงแถบสีที่คาด ความกว้างประมาณ 50มม.  

Visitors: 390,632